PNMA เปิดผลวิจัย ‘สื่อยุคใหม่’ ช่วยให้แม่เข้าถึงข้อมูลโภชนาการเด็กเล็กเร็ว

พญ.กิติมา ยุทธวงศ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก (PNMA) เปิดเผยว่าปัจจุบันยังพบปัญหาเด็กประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการ อาทิ มีภาวะผอมหรือภาวะอ้วน ภาวะทุพโภชนาการนี้ จะส่งผลกระทบต่อเด็กและสังคมในระยะยาว เนื่องจากปัญหานี้มีผลโดยตรงต่อการเติบโตพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญา และยังอาจส่งผลต่อทักษะด้านอื่นของเด็กไทย ดังนั้นจึงตัดสินใจทำการวิจัยขึ้นเพื่อศึกษาถึงพฤติกรรม ตลอดจนทัศนคติการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของคุณแม่ที่มีลูกน้อย เพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้ลึกซึ้ง รวมทั้งนำข้อมูลที่ได้มาบูรณาการให้เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโภชนาการสำหรับเด็กไทยต่อไปคำพูดจาก ทดลองเล่น

การเลือกสื่อหรือการใช้สื่อ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการสำหรับเด็กเล็ก จึงสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ในยุคปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมค้นคว้าหาข้อมูลสิ่งต่างๆ ก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ไม่ว่าจะเป็น สื่อโฆษณา รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก เว็บไซต์ ที่มีบทความให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีความน่าเชื่อถือ หากขาดสื่อเหล่านี้ไปจะทำให้ประชาชนตกอยู่ในความเสี่ยง เพราะจะเหลือแหล่งข้อมูลเพียงไม่กี่แหล่งและเสี่ยงต่อการถูกหลอกด้วยวิธีการชวนเชื่ออื่น เช่น กลุ่มเฟซบุ๊ก อินฟลูเอนเซอร์ หรือเพจรีวิวสินค้าที่ไม่มีการให้ข้อเท็จจริง ที่ช่วยให้คุณแม่ตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือวางแผนด้านโภชนาการได้อย่างเหมาะสม

งานวิจัยล่าสุดจาก PNMA และ Kantar สำรวจคุณแม่ช่วงอายุ 18-50 ปี ที่มีลูกอายุ 1-3 ขวบปี ทั่วประเทศที่อาศัยในเขตเมืองและนอกเมือง พบว่าโฆษณาทางโทรทัศน์ ทางออนไลน์ ทางร้านค้า หรือการพูดคุย ได้รับการบอกต่อ เป็นช่องทางหลักที่คุณแม่โดยทั่วไปใช้ในการติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มเสริมอาหาร โดยเฉพาะสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ และทางออนไลน์ เป็นช่องทางที่คุณแม่คิดว่ามีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ช่วยสร้างความมั่นใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มเสริมอาหารสำหรับเด็กมากขึ้น ป้องกันการถูกหลอกให้ซื้อสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ หรือสินค้าที่ไม่เป็นที่รู้จัก

โดยช่องทางโฆษณาทางโทรทัศน์ มีความน่าเชื่อถือสูงมากกว่า 50-54% รองลงมาคือช่องทางโฆษณาออนไลน์ เช่นเฟซบุ๊ก หรือยูทูบ มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ 44-52% ในขณะที่โฆษณานอกบ้าน เช่นบิลบอร์ด ร้านค้า และ เพื่อน ครอบครัว หรือคนรู้จัก มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ 38-44%

ทั้งนี้ การที่โฆษณาได้รับความเชื่อมั่นจากคุณแม่สูงก็เพราะว่าชิ้นงานโฆษณานั้นก่อนจะได้รับการเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานราชการ ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เมื่อออกสู่สายตาสาธารณชนแล้ว คุณแม่ย่อมมีความเชื่อใจไปในระดับหนึ่งว่าไม่ใช่เนื้อหาที่มีการหลอกลวง ประกอบกับโฆษณาส่วนใหญ่ ได้ให้ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่อีกด้วย

สำหรับเรื่องข้อมูลไม่ถูกต้อง บิดเบือน หรือข่าวจำพวกเฟคนิวส์จากแหล่งข้อมูลส่วนบุคคล ร้านค้า เว็บไซต์ กลุ่มออนไลน์ หรือ เพจโซเซียลมีเดียที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ ยังคงเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายให้ความวิตกกังวลอย่างมากเพราะข่าวลือ ความรู้ที่ไม่ถูกต้องมักจะมาจากช่องทางเหล่านี้และทำให้คุณแม่จัดการโภชนาการให้ลูกอย่างผิดวิธี

แต่จากงานวิจัยล่าสุดพบว่า คุณแม่ในทุกช่วงอายุและในทุกกลุ่มระดับการศึกษา ให้ความน่าเชื่อถือกับแหล่งข้อมูลที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ การดูแลเด็กโดยตรง เช่นเพจเฟซบุ๊ก อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยที่ต่ำกว่าทุกช่องทางสื่อสาร

ยกตัวอย่างเช่นการรีวิวจากบล็อกเกอร์ และ อินฟลูเอนเซอร์ต่างๆ คุณแม่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ให้ความเชื่อถือ 11% ในขณะที่คุณแม่ในต่างจังหวัดนอกเขตเมืองให้ความเชื่อถือ 2% คุณแม่ในต่างจังหวัดเขตเมืองให้ความเชื่อถือ 24% เท่านั้น

กลุ่มทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่สุดที่คุณแม่จะรับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง คุณแม่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ให้ความเชื่อถือเพียง 11% คุณแม่ในต่างจังหวัดเขตเมืองให้ความเชื่อถือ 25% คุณแม่ในต่างจังหวัดนอกเขตเมืองให้ความเชื่อถือเพียง 5% เท่านั้น

พญ.กิติมา ยุทธวงศ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก (PNMA) เปิดเผยว่าปัจจุบันยังพบปัญหาเด็กประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการ อาทิ มีภาวะผอมหรือภาวะอ้วน ภาวะทุพโภชนาการนี้ จะส่งผลกระทบต่อเด็กและสังคมในระยะยาว เนื่องจากปัญหานี้มีผลโดยตรงต่อการเติบโตพัฒนาการด้านร่างกายแ…